พระที่นั่งวโรภาษภิมาน

พระราชวังบางปะอิน บ้านเกิดของนางอิน

พระเจ้าปราสาททองได้ทรงสร้างวัดชุมพลนิกายาราม และพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ไว้ที่เกาะบ้านเลนอันเป็นนิวาสถานของพระราชมารดาอิน

บริเวณพระราชวังบางปะอินเดิมเรียกเกาะบ้านเลน มีเรื่องเล่าอยู่ว่าในสมัยอยุธยา สมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อครั้งทรงพระยศเป็นมหาอุปราช ได้เสด็จประพาศทางชลมาศแล้วเกิดเรือล่ม และพระองศ์ทรงว่ายน้ำมาขึ้นฝั่งที่เกาะบ้านเลน ที่เกาะบ้านเลนนี่เองก็มีหญิงสาวชาวบ้านที่งดงามนางหนึ่งนามว่านางอิน และได้มาเป็นข้าบาทบริจาริกาในขณะที่พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่นี่ จนกระทั่งเมื่อพระองค์เสด็จกลับวังที่พระนครศรีอยุธยาจึงได้นำนางอินเข้าไปเป็นพระสนมในวังด้วย และพระองค์ยังมีพระโอรสกับนางอินด้วยพระองศ์หนึ่ง เล่ากันว่าพระโอรสพระองค์นั้นคือพระเจ้าปราสาททอง พระเจ้าปราสาททองคร้้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ได้รำลึกถึงถิ่นกำเนิดของพระราชมารดาจึงได้มาก่อสร้างวัดและพระราชทานนามว่า”วัดชุมพลนิกายาราม” และต่อมาก็ได้สร้าง “พระตำหนักไอศวรรย์ทิพย์อาสน์” ไว้ที่เกาะบ้านเลนอันเป็นบ้านเกิดของนางอินซึ่งเป็นพระราชมารดา จากนั้นต่อมาเกาะบ้านเลนก็ได้เป็นพระราชวังฤดูร้อนสำหรับกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาจวบจนกระทั่งเสียกรุงศรีฯให้พม่าพระราชวังเกาะบ้านเลนจึงถูกปล่อยให้รกร้างจนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีและผ่านทางนี้ สุนทรภู่ ซึ่งตามเสด็จด้วยได้บันทึกไว้ในนิราศพระบาทความตอนหนึ่งว่า

รำพึงพายตามสายกระแสเชี่ยว           ยิ่งแสนเปลี่ยวเปล่าในฤทัยถวิล

สักครู่หนึ่งก็มาถึงบางเกาะอิน             กระสินธุ์สายชลเป็นวนวัง

อันเท็จจริงสิ่งนี้ไม่รู้แน่                      ได้ยินแต่ยุบลในหลหลัง

ว่าที่เกาะบางอออินเป็นถิ่นวัง             กษัตริย์ครั้งครองกรุงศรีอยุธยา

สุนทรภู่ว่าอย่างนี้เรื่องพวกนี้ก็คงมีเค้าความจริงหละและชาวบ้านก็คงเรียกว่าบางเกาะอินมาตั้งแต่สมัยอยุธยานั่นหละ พระราชวังบางปะบางปะอินได้เริ่มบูรณะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บุรณะและก่อสร้างพระที่นั่งเพิ่มเติมดังที่เห็นในปัจจุบัน

ปัจจุบันพระราชวังบางปะอินได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้โดยเก็บค่าเข้าชมเพียงท่านละ 30 บาทเท่านั้นคุ้มเหลือคุ้ม ใครมีเงินมาหน่อยก็สามารถเช่ารถไฟฟ้าขับชมได้คิดค่าเช่าคันละ 400 บาทต่อ 1 ชั่วโมงนั่งได้ 4 คน สำหรับข้าพเจ้าเดินเอาดีกว่า พระราชวังบางปะอินมีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีสถานที่เข้าชมมากควรมีเวลาเยี่ยมชมไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เริ่มด้วย

ศาลพระเจ้าปราสาททอง (ผู้ก่อตั้ง) หรือหอเหมมณเฑียรเทวราช

เป็นคล้ายๆปรางค์ขอม ตั้งอยู่ข้างๆสระน้ำ ใต้ต้นโพธิ์ ฝั่งตรงข้ามจะเป็นสภาคารราชประยูร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2423 เพื่ออุทิศให้พระเจ้าปราสาททองผู้สร้างราชวังปางปะอินนี้

ศาลพระเจ้าปราสาททอง
ศาลพระเจ้าปราสาททอง บริเวณใต้ต้นโพธิ์
หอเหมมณเทียรเทวราช
หอเหมมณเทียรเทวราช มีลักษณะคล้ายปรางค์ของขอม

พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์

เป็นพระที่นั่งปราสาทจตุรมุขที่ตั้งอยู่กลางน้ำจำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง  โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น และแล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. 2419 และพระราชทานนามว่าไอศวรรย์ทิพยอาสน์ตามพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังบางปะอินในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ ในพระบรมมหาราชวัง

ประตูเทวราชครรไล

ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง  รถม้ามีเริ่มมีใช้กันตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ และเริ่มมีแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับมาจากการประพาสยุโรป ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมพระอัศวราชขึ้นให้มีหน้าที่จัดหารถม้าและม้าเพื่อใช้ในราชการ รวมถึงการดูแลและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้

ประตูเทวราชครรไล
ประตูเทวราชครรไล ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง
พิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง
ภายในพิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่งในประตูเทวราชครรไล

พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร

พระที่นั่งเรือนไม้สองชั้นแบบชาเลต์ของสวิส สีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ทั้งหลัง ภายในตกแต่งแบบยุโรปด้วยเครื่องเรือนแบบฝรั่งเศส สมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ในอดีตเป็นที่ประทับทรงโปรดของรัชกาลที่ 5 แต่ในปี พ.ศ. 2481 เกิดเพลิงไหม้ตัวพระที่นั่งเสียหายทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินาถ ได้ขอพระบรมราชานุญาตสร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันไม่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชม

พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นเรือนไม้สองชั้นแบบชาเลต์ ของสวิส
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร จากมุมสูง
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร มองจากหอวิฑูรทัศนา
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรด้านข้าง
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรด้านข้าง (พระที่นั่งองค์นี้ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชม)

 

หอวิฑูรทัศนา

ในปี พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างหอสูงยอดมน บริเวณกลางเกาะในพระราชอุทยาน อยู่ระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรกับพระที่นั่งเวหาศจำรูญ ใช้เป็นหอส่องกล้องดูดาวและชมภูมิประเทศ

หอวิฑูรทัศนา
หอวิฑูรทัศนา สร้างไว้เพื่อใช้ชมวิวทิวทัศน์และดูดาว

 

พระที่นั่งเวหาศจำรูญ

ในปี พ.ศ.2432 กลุ่มพ่อค้าชาวจีน ได้สร้างพระที่นั่งสองชั้นแบบศิลปจีนถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระที่นั่งนี้มีชื่อภาษาจีนว่า “เทียนเม่งเต้ย” ภายในห้องกลางชั้นบนของพระที่นั่งเป็นที่ประดิษฐานพระที่นั่งเก๋ง 3 องค์ติดต่อกัน ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง อย่างสวยงาม ช่องตะวันตกประดิษฐานป้ายจารึก (ภาษาจีน) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธยกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2433 ช่องกลางเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และทางช่องตะวันออก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างพระป้ายจารึก (อักษรภาษาจีน) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ.2470 เสียดายที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพบริเวณภายพระที่นั่งได้

พระที่นั่งเวหาศจำรูญ
พระที่นั่งเวหาศจำรูญ เป็นพระที่นั่งศิลปแบบจีน
ทางเข้าไปห้องโถงตรงกลางพระที่นั่งเวหาศจำรูญ
ทางเข้าไปห้องโถงตรงกลางพระที่นั่งเวหาศจำรูญ
พระที่นั่งเวหาศจำรูญด้านหน้า
พระที่นั่งเวหาศจำรูญ เป็นพระที่นั่งสองชั้นโดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม้แกะสลักศิลปแบบจีน
ไม้แกะสลักลวดลายแบบจีน สวยงามวิจิตรตระการตา ประดับอยู่ในบริเวณพระที่นั่ง

 

พระที่นั่งวโรภาษพิมาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2419 ตรงบริเวณที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนแรกสร้างเป็นอาคารตึกสองชั้น ต่อมาได้ดัดแปลงรื้อให้เป็นอาคารชั้นเดียว เพื่อใช้เป็นที่ประทับ และมีท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการ ภายในห้องโถงรับรองและห้องทรงพระสำราญ ประดับด้วยภาพเขียนสีน้ำมัน ภาพพระราชพงศาวดารประกอบโคลงบรรยายภาพ เป็นภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย และฉากต่างๆจากวรรณคดีไทย สวยสดงดงามมาก แต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในได้ ในพระที่นั่งนี้ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่บรรยายประวัติความเป็นมาและความสำคัญของพระที่นั่ง พระที่นั่งองค์นี้นอกจากใช้เป็นที่ว่าราชการแล้วยังเคยใช้จัดงานอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (พระยศในขณะนั้น) กับ หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์ (พระยศในขณะนั้น) เป็นการแต่งงานแบบตะวันตกอย่างแท้จริง การเข้าชมต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีต้องสวมกระโปรง ใครไม่ได้ใส่กระโปรงมาทางเจ้าหน้าที่ก็ได้จัดเตรียมไว้ให้เปลี่ยนได้ฟรีไม่เสียสตางค์

พระที่นั่งวโรภาษภิมาน
พระที่นั่งวโรภาษภิมาน ใช้เป็นที่ประทับและมีท้องพระโรงสำหรับไว้ว่าราชการด้วย
พระที่นั่งวโรภาษพิมานด้านข้าง
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน เป็นพระที่นั่งตึกชั้นเดียว สร้างเมื่อปี พ.ศ.2419 มองจากทางด้านข้าง
ถนนพระนารายณ์
ถนนพระนารายณ์ เป็นทางเดินจากประตูพระราชวังไปสู่ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน
แผนผังพระราชวังบางปะอิน
แผนผังพระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา
การเดินทางมาเที่ยวที่พระราชวังบางปะอิน

สามารถมาได้หลายเส้นทางคือ ถ้าขับรถยนต์มาจากกรุงเทพฯให้ใช้เส้นทางพหลโยธิน เมื่อถึงประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก หลังจากนั้น ให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน หรือนั่งรถโดยสารจากสถานาขนส่งหมอชิต2 ขึ้นรถสายกรุงเทพฯ – บางปะอิน ไปลงที่สถานีขนส่งบางปะอินและต่อด้วยรถสามล้อเครื่องไปที่พราชวังบางปะอิน ทางรถไฟให้ลงที่สถานีรถไฟบางปะอินเลย

[google_map_easy id=”10″]

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.