การปกป้อง ภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อย

โครงการทดลอง ภาระกิจปกป้องโลกจากดาวเคราะห์น้อย ของนาซ่า

ภาระกิจปกป้องโลกจากดาวเคราะห์น้อย ของ นาซ่า นั้นนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการอยู่รอดของโลกของเรา ซึ่งในอดีตนั้นโลกของเราเคยถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนครั้งใหญ่จนเกิดภัยพิบัติครั้งสำคัญอันเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ เมื่อ 65 ล้านปีก่อน นาซ่าได้จัดตั้งหน่วยเพื่อทำการป้องกันเหตุการณ์พุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยอย่างเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ชื่อว่า Planetary Defense Coordination Office PDCO

ขอบเขตและหน้าที่ของ สำนักงานประสานงานพิทักษ์โลก PDCO

1 ตรวจสอบดูให้แน่ใจว่า สามารถตรวจจับวัตถุที่อาจมีอันตราย  potentially hazardous objects (PHOs)  ต่อโลกได้แต่เนิ่น เช่น พวกดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะมาถึงโลกได้คือขนาดประมาณใหญ่กว่า 30 – 50 เมตร

2 ติดตามและระบุลักษณะของวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่อโลกได้ PHOs ออกคำเตือนถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

3 ให้การสื่อสารที่แม่นยำและรวดเร็ว เกี่ยวกับ PHOs

4 เป็นผู้นำในการประสานและวางแผนของรัฐบาลสหรัฐ เพื่อป้องกันและตอบโต้ต่อภัยคุกคามของวัตถุนอกโลกที่เกิดขึ้นจริง

โครงการทดลองปกป้องโลกโดยการเปลี่ยนทิศทางของดาวเคราะห์น้อย DART

PDCO หรือสำนักงานประสานงานพิทักษ์โลก ได้มีโครงการทดลองเกี่ยวกับภาระกิจป้องกันโลกจากดาวเคราะห์น้อย โครงการหนึ่งชื่อว่า Double Asteroid Redirection Test (DART) Mission ซึ่งเป็นการทดสอบการเปลี่ยนทางดาวเคราะห์น้อยด้วยพลังงานจลน์ ภาระกิจ DART นี้อยู่ใน เฟส B แล้ว โครงการนี้ดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการทางฟิสิคส์ประยุกต์ของมหาวิทยาลัยจอห์นฮ๊อฟกิน Johns Hopkins University Applied Physics Laboratory (JHU/APL) โดยการสนับสนุนของ ศูนย์ของนาซ่า ซึ่งประกอบไปด้วย the Jet Propulsion Laboratory (JPL), Goddard Space Flight Center (GSFC), and Johnson Space Center (JSC). 

DART เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่มีไว้ป้องกันโลกจากพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย ด้วยเทคนิคการชนด้วยพลังงานจลน์ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่าผลที่เกิดจากการกระแทกด้วยพลังงานจลน์ต่อดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็ก

ดาวเป้าหมายคือ Didymos

ดาวเคราะห์น้อยที่ถูกเลือกในการทดสอบก็คือ หมายเลข 65803 ชื่อว่า Didymos ดาวเคราะห์น้อยเป็นดาวแฝด 2 ดวงๆหลักมีขนาด 800 เมตร ดาวบริวาร (ดวงจันทร์) มีขนาด 150 เมตร ห่างกันเพียง 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดที่จะส่งผลกระทบต่อโลกได้ ดาวหลักจะหมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณประมาณ 2.26 ชั่วโมง และดวงจันทร์ของมันโคจรรอบดาวหลักใช้เวลาประมาณ 11.9 ชั่วโมง

ยานอวกาศ DART

ยานอวกาศ DART จะไปกระแทกเข้ากับตัวดวงจันทร์ของมันด้วยความเร็ว 6 กิโลเมตรต่อวินาที โดยอาศัยกล้องที่ติดอยู่บนยานและโปรแกรมนำทางอัตโนมัติ เพื่อให้มันเข้าชนกับดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อย เพื่อวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนความเร็วของดวงจันทร์ในการโคจรรอบดาวแม่ด้วยเพียงแค่เศษเสี้ยวของเปอร์เซ็นต์ก็เพียงพอที่จะวัดได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่ส่องไปจากโลก

ยานอวกาศ DART
แบบยานอวกาศ DART ภาพจาก NASA

ยานอวกาศ DART มีลักษณะเหมือนกล่องรูปลูกบาศก์ขนาดกว้างเพียงแค่ประมาณ 2.4 เมตร และเมื่อรวมแผงโซล่าร์เซลล์แล้วจะทำให้ด้านยาวมีขนาด 12.5 เมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ NEXT-C ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนใหม่ที่ใช้ในยานอวกาศ ซึ่งพัฒนาขึ้นที่ศูนย์วิจัยเกลนน์ ของนาซ่า ในคลีฟแลนด์รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา การขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นี้ยังทำให้โครงการมีความยืดหยุ่นในเรื่องเวลาของการเริ่มปล่อยยานอวกาศ และยังประหยัดงบประมาณในการส่งยานอวกาศออกจากวงโคจรของโลกไปยังวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย Didymos อีกด้วย

เริ่มปล่อยยานอวกาศ DART ธันวาคม 2020

ยานอวกาศ DART มีแผนการที่จะปล่อยออกจากโลกไปสู่วงโคจรรอบโลกปลายเดือนธันวาคม 2020 อาจเป็นการส่งด้วยระบบขนส่งของเอกชนหรือทางทหาร และจะหมุนพ้นวงโคจรของโลกและดวงจันทร์ ประมาณเดือนพฤษภาคม 2021 และจะไปกระทบกับดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อย Didymos ประมาณเดือนตุลาคม 2022 ระยะทางในการเดินทางจากโลกไปยัง Didymos ประมาณ 11 ล้านกิโลเมตร ระยะทางขนาดนี้นาซ่าจะสามารถวัดโมเมนต์ของการกระทบกันได้จากกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก และสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของวงโคจรของมันได้ด้วย

การส่งยานอวกาศ DART ออกจากวงโคจรของโลก
การส่งยานอวกาศ DART ออกจากวงโคจรของโลก ภาพจากนาซ่า
ภาระกิจปกป้องโลกจากดาวเคราะห์น้อย ภาพจำลองการเข้าชนดาวเคราะห์น้อยของยานอวกาศ DART
ภาพจำลองการเข้าชนดาวเคราะห์น้อยของยานอวกาศ DART ภาพจาก NASA

การทดลองนี้เป็นหนึ่งในแผนงานปกป้องโลกจากอันตรายของการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง อันเป็นภัยคุกคามโลกที่ทำให้เกิดหายนะมาแล้วในอดีต ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เราก็หวังว่าเมื่อมีเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกจริงๆวิธีการนี้จะใช้ได้ผล

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.