หุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตร

สุดยอด หุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตร กสิกรรมยุคใหม่ในปัจจุบันและอนาคต

หุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตร กำลังเร่งพัฒนาการอย่างกว้างขวางเพื่อตอบโจทย์ ในการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มผลผลิต ลดการสูญเสียปัจจัยการผลิต ค่าแรงแพง เพื่อให้เป็นต่อในการแข่งขันในอุตสหกรรมการเกษตร ส่วนเกษตรกรรายย่อยการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้คงเกินกำลังไปเยอะ แม้แต่จะซื้อมาใช้ก็เกินกำลังไปมาก แต่การเรียนรู้ไว้เพื่อให้รู้จักคู่แข่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร

หุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตร เป็นการนำเอา เทคโนโลยี AI รวมกันเข้ากับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมเกษตร ปัจจุบันได้พัฒนานำไปใช้ในหลากหลายกิจกรรมทางการเกษตรเช่น การสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อมทางการเกษตรโดยใช้โดรน (อากาศยานไร้คนขับ) การใช้เพื่อการกำจัดวัชพืชที่แม่นยำขึ้น การใช้เพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต การใช้เพื่อการเพาะปลูกและอนุบาลต้นกล้า เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการใช้หุ่นยนต์ AI ในอุตสาหกรรมเกษตรยังมีคำถามอีกหลายๆคำถามจากบริษัททางการเกษตรชั้นนำ เช่น มันมีหุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตรแบบไหนบ้างใช้กับอะไรบ้าง เมื่อใช้เทคโนโลยีนี้แล้วมันจะได้เปรียบต่อคู่แข่งอย่างไร แล้วในอนาคตอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตรจะไปทิศทางไหนใน 10 ปีข้างหน้า คำถามเหล่านี้ล้วนต้องการคำตอบ เราขอยกตัวอย่างการพัฒนา หุ่นยนต์ AI เพื่ออุตสหกรรมเกษตรเพื่อเป็นแนวทาง

หุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตร ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เทคโนโลยีควบคุมวัชพืช โดย Blue River Technology – weed control

การต้านทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช เป็นเรื่องที่เกษตรกรกังวลเป็นอย่างมาก การใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืชเพิ่มากขึ้นยิ่งต้องทำให้มีการเพิ่มการใช้สารเคมีเข้าไปอีก จากการศึกษาวิจัยปีหนึ่งๆเกษตรกรชาวสหรัฐอเมริกาต้องสูญเสียไปกับสารเคมีกำจัดวัชพืชถึง 43,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นเงินปริมาณมากมายมหาศาล

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรที่ต้องต่อสู้กับวัชพืชมาอย่างยาวนาน Blue River Technology จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชชื่อว่า The See & Spray robot  เพื่อแก้ปัญหาการต้านทานสารเคมีของวัชพืช โดยอ้างว่าเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชนี้ พ่นได้ตรงวัชพืช ไม่มีการกระจายไปสู่พืชอื่นๆ ลดปัญหาการใช้และการกระจายตัวของสารเคมี

ในปี 2017 บริษัทยักใหญ่เกี่ยวเกษตรกรรมได้ซื้อบริษัท Blue River Technology ไปด้วยเงิน 305 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

หุ่นยนต์เพื่อการเก็บเกี่ยวพืชผล Harvest CROO Robotics

สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐอเมริกา รายงานว่าแรงงานภาคเกษตรกรรมทั่วประเทศลดลงถึง 6 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลและแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร บริษัท  Harvest CROO Robotics จึงได้นำเสนอหุ่นยนต์เก็บสตรอเบอร์รี่ ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมงและได้งานประมาณ 8 เอเคอร์

และจากรายงานพบว่ากว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายภาคเกษตรกรรมเป็นค่าแรงงานซึ่งบริษัท Harvest CROO Robotics ได้มองเห็นและเข้ามาพัฒนาหุ่นยนต์ AI เพื่อตอบสนองแทนที่แรงแรงงานภาคเกษตร

ผู้ผลิตเคลมว่าหุ่นยนต์ของเขาสามารถเก็บสตอร์เบอร์รี่ได้เท่ากับคน 30 คน ซึ่งค่าแรงแรงงานเก็บสตอร์เบอร์รี่ในสหรัฐอเมริกา 30 คน เฉลี่ยปีละ 676,200  USD แต่ไม่ได้แจ้งว่าหุ่นยนต์เก็บสตอร์เบอร์รี่ตัวนี้มีค่าตัวเท่าไร

โดรนเก็บข้อมูลเพื่อการเกษตร Agribotix – Drones

โดรนของ Agribotix สามารถตรวจจับข้อมูลทางการเกษตร และนำไปประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลการประมวลผลทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตและผลกำไรได้ ทาง Agribotix มีข้อมูลและประสบการณ์ในการประมวลผลพืชได้ถึง 44 ชนิดและมีฐานลูกค้าครอบคลุมกว่า 45 ประเทศ

ทาง Agribotix อ้างว่ามีกรณีศึกษาหนึ่ง เป็นการปลูกถั่วเหลือง ที่สามารถป้องกันวัชพืช และทำให้ลดการสูญเสียได้ถึง 13 เปอร์เซ็นต์ เดือนพฤษภาคม 2017 Agribotix ได้ร่วมมือกับพันธมิตร Climate Corporation เพื่อขยายขีดความสามารถ โดยการนำข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศแบบความละเอียดสูงเข้ามาประมวลผลร่วม ทำให้การวางแผนในการทำเกษตรกรรมได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หุ่นยนต์ AI เพื่อการเกษตร ที่พัฒนานำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต

Vision Robotics หุ่นยนต์สำหรับเพาะพันธุ์และปลูกพืช

Vision Robotics เทคโนโลยี เป็นการรวมอัลกอรึทึมและเซ็นเซอร์เทคโนโลยีเข้าด้วยกันเพื่อนำไปใช้ในแปลงผักกาดและไร่องุ่นแบบอัตโนมัต โดยให้หุ่นยนต์สร้างแบบจำลองและแผนที่ 3 มิติของพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเข้าปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้ได้

ขณะนี้ Vision Robotics กำลังหาผู้ร่วมพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยี ผู้ใดสนในสามารถติดต่อได้ที่เวปไซต์ของเขา Vision Robotics

หุ่นยนต์ AI สำหรับเก็บผลไม้
หุ่นยนต์เก็บสตอร์เบอร์รี่

ปี 2013 บริษัท Shibiya Seiki ของญี่ปุ่นได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์เก็บสตอร์เบอร์รี่ ราคา 50,000  USD จากรายงานพบว่าหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถเก็บสตอร์เบอร์รี่ได้จริงในทางปฏิบัติ แต่ความสามารถของมันยังไม่สามารถทำได้ในเชิงพานิชย์ เมื่อเทียบกับคนแล้วประสิทธิภาพยังคงห่างไกลมากนัก

การใช้หุ่นยนต์นี้ยังต้องมีความจำเป็นต้องจัดแต่งโรงเรือนปลูกสตอร์เบอร์รี่ให้เหมาะสมกับการใช้หุ่นยนต์ เช่นระยะห่างของต้น การห้อยและย้อยลงมาของลูกสตอร์เบอร์รี่ ซึ่งทั้งหมดต้องพอเหมาะกับการเคลื่อนไหวและทำงานของหุ่นยนต์ หมายความว่าคุณต้องมีโรงเรือนที่ทำไว้สำหรับหุ่นยนต์ไม่ใช่สำหรับคน

หุ่นยนต์ได้ถูกพัฒนาด้วยความร่วมมือขององค์การวิจัยการเกษตรกรรมอาหารแห่งชาติของญี่ปุ่น ที่มุ่งหวังว่าจะทำเป็นฟาร์มอัตโนมัตเต็มรูปแบบ

บริษัทวิจัยและพัฒนาได้พัฒนา  Octinion หุ่นยนต์สำหรับเก็บสตอร์เบอร์รี่ ซึ่งมีกำหนดการเปิดตัวในปีนี้ 2018 เมื่อเทียบกันกับหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นแล้ว หุ่นยนต์ตัวนี้เน้นในเรื่องความสามารถของหุ่นยนต์ในเรื่องป้องกันการเสียของพืชผลมากกว่า เหมือนกับหุ่นยนต์ของญี่ปุ่น Octinion ก็จำเป็นที่จะต้องมีโรงเรือนหรือแปลงปลูกสตอร์เบอร์รี่ที่ได้ออกแบบมาสำหรับใช้กับหุ่นยนต์โดยเฉพาะ

ทางเวบไซท์ของ Octinion ได้อ้างว่าหุ่นยนต์ของเขาใช้คอมพิวเตอร์ 3D คำนวณการมองเห็นและเลือกเอาเฉพาะ สตอร์เบอร์รี่ที่มีผลสุกแล้วเท่านั้น แม่นยำประมาณ 70% และยังไม่ทำความบอบช้ำให้สตอร์เบอร์รี่อีกด้วย

ทาง Octinion ยังอ้างรายงานว่าแรงงานมนุษย์สามารถเก็บสตอร์เบอร์รี่ได้ประมาณ 16 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ซึ่งเฉลี่ยประมาณ 4 วินาทีต่อ 1 ลูก เมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ Octinion ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 วินาทีต่อ 1 ลูก ซึ่งใกล้เคียงกับมนุษย์

หุ่นยนต์เก็บแอ๊ปเปิ้ล

FF Robotics เป็นของบริษัทสัญชาติอิสราเอล ซึ่งพัฒนาหุ่นยนต์มาเก็บแอ๊ปเปิ้ลแทนแรงงานคน มีรายงานว่าในปี 2012 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผลิตแอปเปิ้ลถึง 4.2 ล้านตันโดยใช้คนเก็บ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย 30-40 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่ง FF Robotics จะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้ ด้วยการใช้หุ่นยนต์เข้ามาแทนแรงงาน และยังสมารถทำงานได้มากกว่าคนถึง 10 เท่าและมีความแม่นยำในการเก็บผลไม้ที่ดี ไม่เน่าเสีย ไม่มีตำหนิ  แถมมันยังวิเคราะห์และเก็บข้อมูล ว่ามีผลไม้เท่าไร ต่อต้น ต่อไร่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาวไร่เป็นอย่างมาก

บทส่งท้าย เทคโนโลยี AI เพื่อการเกษตร

การนำหุ่นยนต์ AI มาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร มีการพัฒนากันในหลากหลายแขนง ด้วยวัตถุประสงค์ ลดแรงงานคน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มขีดสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลผลิต โดยการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการทำงานแทน ซึ่งมีความแม่นยำ และทำงานได้ครั้งละมากๆ ไม่มีเวลาหยุดพัก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำเกษตรลดลง เมื่อเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่การลงทุนในเครื่องมือเหล่านี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งการพัฒนา การผลิต ซึ่งมันเหมาะสำหรับเกษตรกรรมแปลงใหญ่ หรือเกษตรกรรายใหญ่ ส่วนเกษตรกรรายย่อยๆ คงหาจุดคุ้มทุนไม่ได้ ซึ่งในอนาคตอันใกล้เกษตรรายย่อยก็ไม่สามารถแข่งขันได้ ในที่สุดก็สุดก็คงกิจการไป

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.