เทคโนโลยี AI สำหรับร้านค้าปลีก

เทคโนโลยี AI สำหรับร้านค้าปลีก ในเอเชีย

ธุรกิจค้าปลีกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก คาดว่าในปี 2025 จะสามารถทำกำไรได้ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหัฐอเมริกา ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงมากเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งกำไร ซึ่งในอีก 10 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีต่างๆจะถูกนำมาใช้ในธุรกิจค้าปลีกอย่างมากมาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า AI เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่มีการนำมาใช้ ในขณะนี้มีกลุ่ม สตาร์ทอัพได้สร้าง เทคโนโลยี AI สำหรับร้านค้าปลีก ด้วยการเขียนโปรแกรมและสร้างแอพลิเคชั่นขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการแข่งขันในธุรกิจนี้

การค้นหาสินค้าด้วยรูปภาพ Visual Search

ViSenze เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีฐานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ที่สร้างซอฟแวร์ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าได้ด้วยรูปภาพ โดยการติดตั้งโปรแกรมของบริษัทไว้ที่เวปไซต์ของบริษัทผู้ค้าปลีก และลูกค้าสามารถอัพโหลดภาพถ่ายไปที่แถบค้นหาของเวปไซต์ร้านค้าปลีก จากนั้นโปรแกรมจะค้นหาสินค้าที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันกับภาพถ่ายของลูกค้า และ ViSenze ยังอ้างว่าสามารถถ่ายรูปสินค้าในร้านค้าและอัพโหลดไปยัง เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ของสินค้าแบรนด์เดียวกันได้ด้วย

ViSenze ยังอ้างว่าได้ช่วยให้ Uniqlo แบรนด์สินค้าแฟชั่นชื่อดัง ให้ร้านค้าออนไลน์ของพวกเขาสามารถมีระบบค้นหาสินค้าด้วยภาพได้ด้วย Uniqlo ตระหนักดีถึงข้อจำกัดในการค้นหาสินค้าด้วยข้อความ ซึ่งมันมีความยุ่งยากที่จะใช้ข้อความสื่อคุณลักษณะของสินค้าได้ถูกต้องแม่นยำ บางครั้งลูกค้าต้องการหาสินค้าแบบหนึ่ง ด้วยการค้นหาด้วยข้อความที่ไม่สอดคล้องทำให้เวปไซต์ของเขาตอบสนองให้ลูกค้าผิดชนิดของสินค้า การใช้รูปภาพค้นหาจึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า

Uniqlo เคลมว่าหลังจากติดตั้งโปรแกรมค้นหาด้วยรูปภาพของ ViSenze แล้วพบว่าสามารถลดการเดาคีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหาของสินค้าได้มาก และยังอ้างว่ามีเปอร์เซ็นต์คอนเวอร์ชั่นสูงขึ้นด้วย แต่น่าเสียดายที่ Uniqlo ไม่มีตัวเลขเชิงสถิติมายืนยัน

นอกจาก Uniqlo แล้วยังมี Zalora, Mataharimall.com, La Redoute, BlueStone, Comb และ GoodRich เป็นลูกค้าของบริษัทอีกด้วย 

Chua Tat Seng ประธานเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์ ของบริษัท ViSenze ซึ่งเขาได้ปริญญาเอกทางด้านวิทยศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยลีด ประเทศอังกฤษ และเขายังเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 1990 อีกด้วย

การจัดการพื้นที่ชั้นวางของ

Trax เป็นบริษัทจากสิงคโปร์ นำเสนอซอฟท์แวร์ที่ชื่อว่า Trax Technology Stack โดยอ้างว่าสามารถให้เจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถของเห็นสินค้าของตัวเองที่วางอยู่บนชั้นวางสินค้าของร้านค้าปลีก ว่าจะสามารถแข่งขันกับสินค้าของคู่แข่งได้อย่างไร โดยมองผ่านมุมของคอมพิวเตอร์ และยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถพัฒนากลยุทธ์ในการวางสินค้าบนชั้นวางของ และบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ด้วย

Trax อ้างว่าซอฟต์แวร์ของพวกเขา สามารถให้พนักงานใช้โทรศัพท์ที่ติดตั้งแอพลิเคชั่นของ Trax ถ่ายรูปสินค้าที่วางอยู่บนชั้นวางแล้วส่งรูปถ่ายไปยังระบบคลาวด์ของ Trax ระบบของ Trax จะตรวจจับวัตถุที่ชั้นวางของเทียบกับรูปถ่ายที่ส่งมากับฐานข้อมูลเพื่อประมวลผล โดยอ้างว่าซอฟต์แวร์นี้สามารถตรวจจับความผิดปกติในการจัดเรียงสินค้่าบนชั้นวางสินค้า และยังช่วยบอกการวางสินค้าของผลิตภัณฑ์ใหม่ และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าคู่แข่งได้ นอกจากนี้ยังตรวจจับได้ด้วยเมื่อมีพื้นที่ว่างบนชั้นวางของ

ด้วยข้อมูลนี้มันจะสามารถช่วยให้นักการตลาดและนักพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถวางแผนและพัมนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันและชนะคู่แข่งในตลาดได้ และเมื่อเวลาผ่านไปนานๆเข้า Trax อ้างว่าซอฟต์แวร์จะสามารถประเมินได้ว่าตำแหน่งการจัดวางสินค้ามีผลต่อยอดขายอย่างไร

Trax บอกว่าเขาสามารถช่วยให้บริษัท Coca-Cola Hellenic Bottling Company ลดเวลาในการออดิทของที่ร้านค้าได้ และช่วยลดการว่างของชั้นวางของในร้านบนชั้นวาง ในปัจจุบัน COca Cola ต้องจ้างออดิทจากภายนอกมาออดิทร้านค้า 28,000 ร้านใน 35 เมืองทุกเดือน

หลังจากที่ Coca-Cola Hellenic ได้ทดลองใช้โปรแกรมของ Trax แล้วพบว่าฝ่ายขายของเขาสามารถลดเวลาในการออดิทร้านค้าในช่องทางปกติจากใช้เวลา 20 นาที ลงเหลือ 2 นาที และช่องทางใหม่จาก 45 นาทีเหลือ 15 นาที และสามารถเพิ่มการขายครอบคลุมไปได้ถึง 130 เมือง 130,000 ร้านค้า ต่อเดือน เพราะว่าฝ่ายขายสามารถไปเยี่ยมร้านค้าได้มากขึ้นและบ่อยขึ้น และลดเปอร์ในการขาดสินค้าลงได้ถึง 63 เปอร์เซ็นต์

จากการศึกษาพบว่า Coca-Cola Hellenic มีคะแนนการดำเนินการเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ และมียอดขายเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์

ในการลูกค้าของ Trax ยังมี Coca-Cola Amatil, Henkel, และ Coca-Cola Japan อีกด้วย และบริษัทยังสามารถระดมทุนจาก Boyu Capital, Warburg Pincus, Investec, และ Broad Peak Investment ได้ถึง 286 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัท Trax ดำเนินการโดย Yair Adato ซึ่งได้รับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มาจาก มหาวิทยาลัย Ben Gurion และเขายังเคยเป็นวิศกรฝึกหัดที่ google ด้วย

การจัดการพลังงานของร้านค้าปลีก

Zenatrix เป็นบริษัทสัญชาติอินเดีย ซึ่งได้เขียนโปรแกรมที่ชือ Wattman และ Wattman lite ขึ้นมา และอ้างว่าทำให้ร้านปลีกสามารถลดการใช้พลังงานและดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้องตรงเวลา โดยใช้การเรียนรู้ของโปรแกรม

Zenatrix บอกว่าแอพลิเคชั่นนี้ทำงานโดยการรวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น โปรแกรมการอ่านสถาพอากาศและอื่นๆ โดยแอพลิเคชั่นนี้จะรวบรวมข้อมูลและส่งไปที่ระบบคลาวด์ และโปรแกรมจะเรียนรู้และคำนวณอุณหภูมิที่ถูกต้อง ตลอดจนรอบการซ่อมบำรุงของเครื่องปรับอากาศ

โดยอัลกอริทึมจะค้นหาฐานข้อมูลสำหรับอุณหภูมิเกี่ยวกับการระบายความร้อนที่เหมาะสม ณ. อุณหภูมิ ความชื้นที่วัดได้ และปริมาณความหนาแน่นของลูกค้า นำมาประเมินผลและสั่งปรับการทำงานของเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ

Zenatrix เคลมว่าสามารถช่วยให้ซุปเปอร์มาเก็ตลดค่าไฟได้มากกว่า 300 ร้านค้าในอินเดีย ซึ่งร้านค้าเหล่านั้นล้วนเผชิญปัญหาในการใช้ไฟฟ้าและปัญหาในการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ ซึ่งในแต่ละเดือนมีค่าไฟพุ่งขึ้นไปประมาณ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ร้านค้าเหล่านั้นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ตลอดวันแม้นอกเวลาทำการ บางครั้งก็มีเครื่องปรับอากาศเสียทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์แย่ๆในการมาใช้บริการ

เมื่อมีการใช้โปรแกรม Wattman เซ็นเซอร์จะบันทึกข้อมูลการปริมาณการของลูกค้า อุณหภูมิ ความชื้น ภายนอกและภายในร้านค้า และปรับเครื่องปรับอากาศให้รู้สึกสบาย มีรายงานว่าร้านค้่าเหล่านั้นสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 15% ของทั้งร้าน

Wattman ยังช่วยให้พนักงานของร้านค้าที่ดูแลเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าสามารถอัพเดจรายงานให้เร็วขึ้นถึง 60% และยังรายงานว่ามันช่วยให้พนักงานสามารถกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศและหรือตู้เย็นในร้านอาหาร ช่วยรักษาคุณภาพของอาหารและวัตถุดิบไม่ให้เสียคุณภาพ ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ

Zenatrix บอกว่านอกจากกลุ่มร้านค้าที่กล่าวมาแล้วยังมี Mother Dairy, Domino’s Pizza, FabIndia, Future Retail, Vodafone และ State Bank of India ยังเคยเป็นลูกค้าของเขาอีกด้วย


Amarjeet Singh เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Zenatrix จบปริญญาเอกด้านวิศวกรไฟฟ้ามาจากมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย ลอสเอนเจลีส และ Amarjeet Singh ยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศ อินทราประเทศ, นิวเดลี

เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า

Megvii เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีน ให้บริการเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าโดยใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า face++ แม้ว่าโปรแกรมนี้ไม่ได้พัฒนามาเพื่อธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะ แต่ก็มีฟังค์ชั่นการใช้งานที่สามารถนำไปใช้ได้ เช่น Ant Financial ซึ่งได้ใช้ Face++ ใน Alipay ซึ่งบริษัทอ้างว่าอนุญาตให้ลูกค้าที่ร้าน KFC-offshoot จ่ายค่าสินค้าด้วยรอยยิ้ม

เพื่อให้แอพลิเคชั่นนี้ใช้งานได้ ลูกค้าจำเป็นที่จ้องอัพโหลดใบหน้าของเขาในหลายๆมุนและหลายๆแสง เข้าไปสู่เวปไซต์ของผู้ค้าปลีก ในกรณีของ Alipay ลูกค้าจะต้องป้อนข้อมูลของบัตรเครดิตด้วย เพื่อที่ลูกค้าเมื่อเลือกซื้อสินค้าแล้ว ก็สามารถยิ้มให้กล้องเพื่อจ่ายค่าสินค้าได้ หลังจากนั้นโปรแกรมก็จะเรียกเก็บเงินจากบัตรเครดิตของลูกค้า

Megvii กล่าวว่าร้านค้าปลีกสามารถใช้เทคโนโลยี Face++ ให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าในร้านค้าออนไลน์ได้ บริษัทยังอ้างว่า Oppo ได้ใช้โปรแกรม face++ ของเขาให้สามารถปลดล๊อคโทรศัพท์และสามารถชำระเงินได้ด้วย แต่ไม่ชัดเจนนักว่าชำระด้วยวิธีใด

Megvii เคลมว่าบริษัท Vivo, Uber, Alibaba, CITIC และ Xiaomi  ก็ใช้เทคโนโลยีของเขา และบริษัทสามารถระดมทุนได้ประมาณ 607 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก Boyu Capital, Alibaba Group และ SK Group และอื่น ๆ

Qi Yin เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Megvii ขณะนี้กำลังศึกษาปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยโลัมเบีย สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และเขาจบปริญญาโทสาขาวิชาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เช่นกัน ก่อนหน้านี้ Qi Yin ได้เป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยไชนีส ของฮ่องกง และเคยทำงานในหน่วยงานวิจัยของ Microsoft ในเอเชีย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.