แค้มป์ผู้อพยพชั่วคราวในเฮติ

เฟสบุ๊คใช้ข้อมูลช่วยภัยพิบัติ การช่วยเหลือสาธาณะของสังคมออนไลน์

สังคมมออนไลน์นับเป็นการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดและรวดเร็วที่สุดกว่าการสื่อสารของสังคมมนุษย์ใดๆในโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟสบุ๊ค และเมื่อ เฟสบุ๊คใช้ข้อมูลช่วยภัยพิบัติ นับว่ามีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ต่อมนุษย์โลกอย่างมาก อันด้วยเพราะว่าการสื่อสารขององค์กรที่ทำการช่วยเหลือภัยพิบัติต่างๆ ยังคงเชื่องช้าและโบราณ ไม่มีฐานข้อมูลจำนวนมากและถูกต้องแม่ยำรวดเร็วเพียงพอ ดังนั้นเมื่อได้ข้อมูลจากเฟสบุ๊คที่รับข้อมูลมาจากผู้ใช้แบบออนไลน์ องค์กรเหล่านั้นก็จะได้มีข้อมูลที่ทันสมัยสามารถช่วยผู้คนได้ถูกต้องและทันเวลา

แค้มป์ผู้อพยพชั่วคราวในเฮติ
แค้มป์ผู้อพยพชั่วคราวในเฮติ ปี 2010 หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่

เฟสบุ๊คใช้ข้อมูลช่วยภัยพิบัติ ได้อย่างไร

ด้วยความที่เฟสบุ๊คเป็นสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และชาวเฟสบุ๊คใช้งานเฟสบุ๊คด้วยการแบ่งปันความเห็นและข้อมูลข่าวสารกันตลอดเวลา ทำให้เฟสบุ๊คมีข้อมูลมหาศาลตลอดเวลา ทั้งในรูปแบบ อักษร ภาพ และวิดีโอ ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นที่ใดในโลก เฟสบุ๊คก็จะได้รับข่าวนั้นทันที และส่งกระจายไปอย่างรวดเร็ว เหนือการสื่อสารใดๆบนโลกนี้ เฟสบุ๊คจึงใช้ข้อมูลนี้เพื่อประโยชน์ในงานด้านสาธารณะภัย

  • เฟสบุ๊คช่วยทำแผนที่ภัยพิบัติ

เฟสบุ๊คช่วยทำแผนที่ว่าใครได้รับผลกระทบต่อภัยพิบัติบ้าง อยู่บริเวณใดบ้าง และยังช่วยบอกด้วยว่าแหล่งเสบียงและความช่วยเหลือต่างๆอยู่ที่ใด เช่น น้ำ อาหาร ยารักษาโรค พื้นที่หลบภัย แผนที่เหล่านี้จะส่งต่อและแบ่งปันให้กับองค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภัยสาธารณะต่างๆ

ทุกวันนี้เฟสบุ๊คได้แบ่งปันข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนให้กับองค์กร เพื่อให้องกรค์ต่างๆนำข้อมูลไปวิเคราะห์ และอุดช่องว่างของข้อมูลที่องค์กรเหล่านั้นมี และเผชิญอยู่บ่อยๆ เพื่อที่จะได้สามารถจัดการรับมือกับภัยพิบัติได้ดียิ่งขึ้นไป หลายๆองค์กรได้ร่วมมือและทำงานร่วมกันกับเฟสบุ๊ค ช่วยแยกแยะและระบุว่า ข้อมูลไหนมีประโยชน์สำหรับการรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อที่จะได้นำไปใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ องค์กรที่ปัจจุบันได้ทำงานร่วมกันกับเฟสบุ๊คคือ UNICEF องค์กรกาชาดสากล องค์กรเสี้ยววงเดือน องค์การอาหารโลก เป็นต้น

 

movement maps เฟสบุ๊คใช้ข้อมูลช่วยภัยพิบัติ
แผนที่การเคลื่อนย้ายของผู้คน ชวงเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 Magnitude ในประเทศนิวซีแลนด์ (ซ้ายมือผู้คนอพยพออกหลังเหตุการณ์ 1 วัน ขวามือผู้คนอพยพกลับหลังจาก 3 วันผ่านไป)

ผลจากการร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เฟสดำเนินการทำแผนที่ในรูปแบบต่างๆเพื่อตอบสนองการใช้งานสำหรับการช่วยเหลือภัยพิบัติดังนี้

แผนที่ Location Density Maps แผนที่นี้จะบอกว่ามีผู้คนอยู่บริเวณใดบ้าง ก่อนเกิดเหตุการณ์, ระหว่างเกิดเหตุการณ์ และหลังจากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติแล้ว เหมือนกับปริมาณประชากรที่ถ่ายจากดาวเทียม เมื่อทำการเปรียบเทียบแล้วจะทำให้องกรค์ต่างๆสามารถวางแผนรับมือและตอบสนองต่อผู้คนได้รวดเร็วแม่นยำมากขึ้น

แผนที่การเคลื่อนไหวและอพยพ Movement Maps แผนที่นี้จะแสดงให้เห็นว่าผู้คนมีรูปแบบในการเคลื่อนไหวอย่างไร จากสถานที่หนึ่งไปสถานที่หนึ่งหรือแม้กระทั่งระหว่างเมือง โดยแสดงให้เห็นในระดับชั่วโมงเลยทีเดียว ทำให้องค์กรที่เกี่ยวทราบได้ว่าผู้คนจะไปรวมกันอยู่ที่ไหน และเมื่อไร ซึ่งข้อมูลมีประโยชน์อย่างสูงในการวางแผนช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการ ส่งเสบียงอาหาร ยารักษาโรค เครื่องใช้จำเป็น สถานที่ แม้กระทั่งการจัดการจราจร

แผนที่ Safety Check แผนที่นี้เป็นการรวบรวมจากกลุ่มผู้ใช้เฟสบุ๊คที่ใช้การระบุตำแหน่งปลอดภัยซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่ ใช้สำหรับการบอกเพื่อนๆในสังคมเฟสบุ๊คว่าตัวเองอยู่ในสถานที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ โดยเฟสบุ๊คจะส่งข้อมูลนี้ให้องค์กรที่ทำการช่วยเหลือ โดยข้อมูลจะเป็นข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งข้อมูลนี้จะทำให้องกรค์ที่จะต้องเข้าช่วยเหลือรู้ว่าสถานที่ใดที่จะต้องให้ความสำคํญในลำดับต้นๆ

ข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ทางเฟสบุ๊คได้แบ่งปันและทำการประเมินร่วมกับองกรณ์ที่สำคัญและมีความน่าเชื่อถือเท่านั้นคือ UNICEF องค์กรกาชาดสากล องค์การเสี้ยววงเดือน องค์การอาหารโลก ในอนาคตเฟสบุ๊คมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มองค์กรต่างๆหรือแม้กระทั่งรัฐบาลเข้ามาร่วมในการใช้ข้อมูลและวินิจฉัยข้อมูล ทั้งหมดนี้จะได้รับการดูแลอย่างระมัดระวังในการใช้ข้อมูลด้วยบุคคลากรของเฟสบุ๊คและผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและใช้อย่างมีประโยชน์สูงสุด

ที่มา Facebook Newsroom

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.