ศิลปวัฒนธรรม

บทความเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ของหลากหลายเผ่าพันธุ์

ทะเลจีนใต้

ทะเลจีนใต้ การแย่งชิงอำนาจในเอเชีย จากงานของ Bill Hayton

ทะเลจีนใต้ : การแย่งชิงอำนาจในเอเชีย บทที่ 1 : ซากเรือ ถ้าจะรอให้อ่านจบทั้งเล่มแล้วเล่าทีเดียวเลยคงจะมีชะตากรรมเหมือนเล่มอื่นๆคืออ่านจบแล้วมีเรื่องอื่นต้องทำเลยไม่ได้เล่า ดังนั้นเล่มนี้ The South China Sea: The Struggle for Power in Asia ของ Bill Hayton ขอเปลี่ยนมาเล่าเป็นตอนๆไปก็แล้วกัน บทที่ 1 Wrecks and Wrongs นั้น Hayton ได้เริ่มเรื่องจากการขุดค้นของนักโบราณคดีเพื่อปูพื้นว่ามีคนเกิดและอาศัยอยู่ในพื้นที่ในบริเวณทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่เมื่อใด แต่ถ้าผมเป็นบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้จะตัดส่วนนี้ทิ้งทั้งหมดเพราะมันไม่ตอบคำถามสำคัญอะไรสำหรับเรื่องนี้มากนัก แน่นอนเรารู้ว่าสิ่งที่มีชีวิตที่พอจะเรียกได้ว่ามนุษย์คือพวก Homo erectus คือพวกที่เดินหลังตรงได้ในแถบนี้คือมนุษย์ชวา หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบคือมีอายุอยู่เมื่อ 1.5 ล้านปีมาแล้ว มนุษย์ชวารุ่นนี้ไม่ได้มีอยู่ในชวาเท่านั้น หากแต่มีอยู่ในจีนด้วย แต่ยังไม่แน่นักว่ามนุษย์ชวาพัฒนาอารยะธรรมมาเป็นมนุษย์ทุกวันนี้หรือเปล่า สิ่งที่น่าสนใจและมีความหมายจริงต่อเรื่องนี้น่าจะเริ่มเมื่อมีการค้นพัฒนาการของอารยะธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า ซึ่งในแง่นี้งานทางประวัติศาสตร์จะใช้อธิบายได้ดีกว่าโบราณคดี เรารู้กันแบบไม่ปะติดปะต่อว่าระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1-5 มีการค้ารุ่งเรืองขึ้นมาในบริเวณชายฝั่งทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากหลักฐานของจีนอาณาจักรแรกๆที่มีอิทธิพลในแถบนี้อยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเรียกว่าฟูนัน ถึงอย่างนั้นก็ตาม Hayton (หน้า 11) กล่าวว่า “ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีใดๆที่จะพิสูจน์ว่ามีการค้าสำเภาจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนศตวรรษที่ 10” …

ทะเลจีนใต้ การแย่งชิงอำนาจในเอเชีย จากงานของ Bill Hayton Read More »

pachuca painting

ปาชูกา จากเหมืองแร่เงิน ยาเสพติด และอาชญากรรม สู่ภาพวาดศิลปะบนฝาผนัง

โครงการ ปาชูกา เพนท์ติ้ง เป็นความร่วมมือของชาวบ้าน ศิลปิน และอดีตสมาชิกแก๊งค์ เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชุมชน