สบู่แฮนด์เมด

วิธีพื้นฐานการทำสบู่ แฮนด์เมด ตอนที่ 1

สบู่  เป็นของใช้จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันเพื่อการชำระล้างร่างกายให้สะอาด  และเป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานการการดูแลรักษาผิวพรรณให้สวยงามและมีสุขภาพดี

สบู่เป็นของใช้จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันเพื่อการชำระล้างร่างกายให้สะอาด  และเป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานการการดูแลรักษาผิวพรรณให้สวยงามและมีสุขภาพดี  คนส่วนมากจะใช้สบู่อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง บางคนอาจจะ 2 ถึง 3 ครั้งต่อวัน ซึ่ง khundee.com อยากจะชักชวนให้ทำความรู้จักกับ สบู่แฮนด์เมด กันเสียหน่อย

โดยเริ่มด้วยการรู้จักวิธีการทำสบู่แฮนด์เมด ซึ่งการทำสบู่ก็มีหลายวิธีการ แต่เราจะนำเสนอวิธีการหลักๆ 3 วิธีคือ

melt and Pour_finished
melt and Pour_finished
Lemon Tea Soap
Cold Process Soap
Hot Process Soap
Hot Process Soap
[the_ad id=”4207″]

1) Melt and Pour Method Soap

หรือเป็นที่รู้จักกันในวงการ สบู่แฮนด์เมด ว่าเป็นสบู่ กลีเซอรีน  และสบู่เชิงพาณิชย์หลายชนิดก็ยังมีการเติมกลีเซอรีน (เติมลงไปในช่วง ผสม Lye กับ Fatty acid ) เพื่อให้เกิดความใสและสบู่มีความชุ่มชื้น ซึ่งสบู่แฮนด์เมดที่ทำด้วยวิธีแบบนี้จะเป็นสบู่ที่อุดมไปด้วย กลีเซอรีน แต่ส่วนมากก็ไม่ได้นำมากล่าวอ้างถึง การเติมกลีเซอรีนเพิ่มลงไปจะทำให้สบู่ใสขึ้นและเรียกว่าสบู่ใส (Clear Soap) และทำให้สบู่มีคุณสมบัติในการบำรุงความชุ่มชื้นแก่ผิว การทำสบู่ประเภทนี้ทำได้ง่ายๆไม่ยุ่งยากใครๆก็ทำได้

โดยการละลาย สบู่ใส แบบกึ่งสำเร็จรูป (Base Clear Soap)  (สบู่กลีเซอรีน) ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายเคมีภัณฑ์เครื่องสำอาง และสามารถละลายได้ด้วยไมโครเวฟที่บ้านเราได้เลย เมื่อละลายสบู่ชนิดใสแล้ว ก็ปรุงสี ปรุงกลิ่น ใส่สารบำรุงผิว เช่น วิตามินอี สารสกัดว่านหางจระเข้ อยากให้ขาวใสก็สามารถใส่ วิตามินซี หรือ AHA เพิ่มไปได้ แต่ต้องระวังเรื่อง PH ให้เหมาะสมสำหรับผิวด้วย เสร็จแล้วก็พิมพ์สวยๆมาเทใส่ พอสบู่มีการแข็งตัวดีก็แกะพิมพ์ใส่กล่องติดสลากสวยๆเพื่อนำส่งสู่ตลาดได้เลย

เครื่องมือที่จำเป็นในการใช้ทำสบู่หาซื้อได้จาก LAZADA

2) Cold Process Soap

เป็นวิธีการทำสบู่แบบดั้งเดิมคลาสสิค  เป็นการผสมกันของ Lye กับกรดไขมัน ซึ่งเราสามารถใช้กรดไขมันได้เกือบทุกชนิดเลยคะ ทั้งสัตว์และพืชแต่แนะนำให้เป็นพืชนะคะ เช่น จาก น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น โดยสามารถเลือกน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อผิวพรรณเราผสมไปได้ทุกชนิด การทำสบู่แบบนี้เป็นผสมผสานวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยกัน บางคนทำออกมาเป็นงานศิลปะสวยสดงดงาม สีสันตระกรานตา จนไม่อยากจะเชื่อว่านั่นคือสบู่

การผสมสัดส่วนของ lyeกับกรดไขมัน เป็นกระบวนการทางเคมีเรียกว่า  Saponifactionซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาทำปฏิกิริยาถึง 6 สัปดาห์จึงจะสมบูรณ์ การทำสบู่แบบนี้อย่าลืมเรื่องการป้องกันอันตรายเนื่องจากการผสม lye เราควรจะใช้ถุงมือและแว่นตาและศึกษาวิธีการทำอย่างละเอียด การทำสบู่แบบนี้สามารถออกแบบคุณภาพสบู่ ตามแต่ชนิดน้ำมันที่เราใส่เข้าไปว่าจะให้สบู่เรามีคุณดีเช่นไรก็ย่อมได้ สีสัน และกลิ่น เราสามารถสร้างสรรค์ได้ราวกับว่าเราเป็นศิลปินทีเดียว หมายเหตุ Lye หมายถึง น้ำ+NaOH (โซดาไฟ) ในกรณีทำสบู่เหลวให้ใช้ KOH คะ

3) Hot Process Soap

การทำสบู่ด้วยวิธีนี้ก็คล้ายๆกันกับ Cold Process ทั้งเรื่องของส่วนผสมและวัตถุดิบ เพียงแต่กระบวนการและเวลาต่างกัน ซึ่ง Hot Process นี้อาจมีความยุ่งยากนิดหน่อยตรงที่เราต้องใช้ความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง คือผสมวัตถุดิบบนอุณหภูมิที่เหมาะสม คนจนส่วนผสมเกิด Trace (ลักษณะจะข้นคล้ายๆครีม)  แล้วก็นึ่งด้วยความร้อนต่อจนน้ำส่วนเกินระเหยไปหมด หลังจากนั้นก็นำไปใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้ ขั้นตอนนี้ ก็ปรุงสี ปรุงกลิ่น ตามใจชอบได้ แล้วปล่อยให้เย็นก็สามารถใช้ได้เลย ไม่ต้องรอปฏิกิริยาให้สบูรณ์เหมือน Cold Process โดยความร้อนจะช่วยย่นระยะเวลาของกระบวนการได้ การทำสบู่แบบนี้ต้องศึกษาการทำโดยละเอียด แต่ก็ไม่สามารถสร้างสรรค์งานศิลปได้มากเนื่องจากข้อจำกัด ของสถานะของมันตอนที่ใส่ลงไปในโมลด์

ในคราวต่อไปมาดูรายละเอียดแต่ละวิธีว่าทำอย่างไร

  • link งานสบู่ทั้งหมด

ตอนที่ 1 พื้นฐานการทำสบู่แฮนด์เมด  ตอนที่ 2 การทำสบู่แฮนด์เมดแบบวิธี Melt and Pour, ตอนที่ 3 การทำสบู่แฮนด์เมดแบบ Cold Process, ตอนที่ 4 การทำสบู่แฮนด์เมดแบบ Hot Process, ตอนที่ 5 ปฏิกิริยาเคมี และคุณภาพของสบู่แฮนด์เมด, ตอนที่ 6 คุณสมบัติของน้ำมันและคุณลักษณะสบู่แฮนด์เมดที่ได้จากน้ำมันและไขมัน ตอนที่ 7 อาหารผิว ประโยชน์และวิธีใช้ในสบู่แฮนด์เมดแบบ Cold Process ตอนที่ 8 สีสันจากธรรมชาติ ในสบู่แฮนด์เมด แบบ Cold Process ตอนที่ 9 การใส่กลิ่นในสบู่แฮนด์เมด แบบ Cold Process

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.